เจาะตลาดไฮเอนด์

สิงหาคม 16, 2009

สัมภาษณ์คุณวัฒนา เจริญศักดิ์วัฒนา ปั้น “สุพรีมทีม”
เจาะตลาดไฮเอนด์
แม้ไม่อาจเทียบได้กับยักษ์ใหญวงการพัฒนาที่ดิน แต่ประสบการณ์ที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมายาวนาน 16 ปี หลังตัดสินใจ แตกไลน์จากธุรกิจอะไหล่รถยนต์นำเข้า ก้าวเข้าสู่วงการอสังหาริมทรัพย์ตั้งแต่ปี 2536 “สุพรีม ทีม” จึงไม่ใช่น้องใหม่ในวงการเพราะมีผลงานการพัฒนาโครงการแนวสูงภายใต้แบรนด์ “สุพรีม” เน้นเจาะกลุ่มลูกค้าระดับบนโดยเฉพาะหลายต่อหลายโครงการในทำเลใจกลางเมือง

สิบกว่าปีที่ผ่านมากล่าวได้ว่า “สุพรีม ทีม” ค่อนข้างจะโลว์โปรไฟล์ ทำให้แบรนด์นี้ไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากนัก แต่จากนี้ไปบริษัทมีนโยบายที่จะทำตลาดในเชิงรุก และพร้อมจะเปิดตัวมากขึ้น “วัฒนา เจริญศักดิ์วัฒนา” รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท สุพรีม ทีม จำกัด ในฐานะทายาทรุ่นที่สองที่เข้ามารับไม้ต่อให้สัมภาษณ์ถึงทิศทางธุรกิจอสังหาฯในอนาคตขององค์กรแห่งนี้

เริ่มด้วยการขยายความถึงที่มาของชื่อ “สุพรีม ทีม” ว่าเป็นเพราะต้องการสร้างสรรค์โปรดักต์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า และสร้างความแตกต่างให้ลูกค้ารู้สึกได้ เพราะเพียงแค่ชื่อก็บอกชัดเจนในตัว

“วัฒนา” บอกว่า เดิมครอบครัวทำธุรกิจหลักนำเข้าอะไหล่รถยนต์จากต่างประเทศ แต่คุณพ่อ (ศิริชัย เจริญศักดิ์วัฒนา) และญาติๆ สนใจในธุรกิจอสังหาฯ และชอบสะสมที่ดินอยู่แล้ว เมื่อเห็นมีความพร้อมระดับหนึ่งจึงตัดสินใจเข้ามาทำตลาดจริงจัง โดยฟอร์มทีมงานประกอบด้วยญาติและเพื่อนๆ ที่อยู่ในแวดวงวิศวะ-สถาปนิก จัดตั้งบริษัท สุพรีม ทีม จำกัด ขึ้นมา

ประเดิมด้วยการพัฒนาคอนโดฯ โลว์ไรส์ 8 ชั้น สุพรีม เพลส ในซอยเย็นอากาศ 2 มีจำนวนยูนิตทั้งหมด 54 ยูนิต มูลค่าโครงการ 200 ล้านบาท โดยวางคอนเซ็ปต์โครงการแตกต่างไปจากคอนโดฯ ในเมืองที่มีอยู่ในตลาดเวลานั้น ซึ่งส่วนใหญ่พื้นที่ใช้สอยมีขนาดเล็ก และคนมักใช้เป็นบ้านหลังที่สอง สุพรีม ทีม จึงออกแบบคอนโดฯ ให้มีพื้นที่ใช้สอยขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 45 ตร.ม. เป็นพรีเมี่ยมมากขึ้น ระดับราคาขาย 4 ล้านบาท เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกเหมือนได้อยู่ในบ้านเดี่ยว หลังลอนช์ออกสู่ตลาด ในปี 2538 ปรากฏว่าได้รับการตอบรับเหนือความคาดหมาย

ปี 2539 สุพรีม วิลล์ จึงเกิดขึ้นตามมา โครงการนี้เน้นที่การออกแบบและวางผังโครงการโดยให้ความสำคัญกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมมากขึ้นอีก มีทั้งหมด 2 อาคาร 110 ยูนิต เป็นห้องชุดขนาด 68 ตร.ม. 1 ห้องนอน ราคายูนิตละ 5 ล้านบาท มูลค่าโครงการ 700 ล้านบาท ซึ่งประสบความสำเร็จไม่น้อยไปกว่าโครงการแรก

“เปิดการขายสุพรีม วิลล์ ได้ไม่นาน ก็เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ช่วงนั้นเราประสบปัญหาเช่นเดียวกับผู้ประกอบการรายอื่น แต่โชคดีที่ยังขายโครงการได้หมด จากนั้นจึงหยุดรอจังหวะเพื่อให้เศรษฐกิจและธุรกิจอสังหาฯ ฟื้นก่อน”

“วัฒนา” ย้อนอดีตอีกว่า หลังชะลอลงทุนมานานหลายปี ปี 2545 ทิศทางเศรษฐกิจเริ่มชัดเจน บริษัทเห็นว่าพร้อมที่จะรุกตลาดอีกครั้ง จึงผุดโครงการสุพรีม คลาสสิก คอนโดฯ พรีเมี่ยม โดยจับกลุ่มลูกค้าระดับบนอีกโครงการหนึ่งสูง 8 ชั้น เป็นที่พักอาศัย 7 ชั้น ชั้นละ 2 ยูนิต รวมทั้งหมด14 ยูนิต พื้นที่ใช้สอยยูนิตละ 320 ตร.ม. ราคาเริ่มต้นยูนิตละ 15 ล้านบาท เพราะมองเห็นช่องว่างทางการตลาด เนื่องจากเวลานั้นไม่มีผู้ประกอบการรายใดออกโปรดักต์ตอบสนองความต้องการให้กับลูกค้ากลุ่มนี้

จากนั้นเป็นโครงการสุพรีม อิลิแกนซ์ ในทำเลถนนจันทน์ ไซซิ่ง ยังใหญ่เหมือนเดิม โดยเริ่มต้นที่ 180 ตร.ม.ราคา เริ่มต้น 8 ล้านบาท มีทั้งหมด 35 ยูนิต มูลค่าโครงการ 300 ล้านบาท สำหรับโครงการนี้ไซซิ่ง เล็กลงกว่าสุพรีม คลาสสิก และใส่ความเป็นโมเดิร์นเข้าไปมากขึ้น

และเพิ่งจะเปิดตัวโครงการสุพรีม การ์เด้น ในซอยเย็นอากาศ 1 บนพื้นที่ 2 ไร่เศษ โดยกันพื้นที่เป็นส่วนของตัวอาคาร 1 ไร่ อีก 1 ไร่เป็นพื้นที่ส่วนกลาง ห้องชุดแต่ละห้องมีพื้นที่ใช้สอย 270 ตร.ม. จำนวนทั้งหมด 22 ยูนิต ราคาเริ่มต้นประมาณ 25 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างเปิดขาย

นอกจากโครงการแนวสูงที่ สุพรีม ทีม โฟกัสเฉพาะทำเลใจกลางเมืองโดยเฉพาะแล้ว โปรเจ็กต์ แนวราบเป็นทาวน์เฮาส์ 3 ชั้น และโฮมออฟฟิศ บนพื้นที่ 10 ไร่ ย่านอ่อนนุช ซึ่งยังคงคอนเซ็ปต์ สุพรีม ที่เป็นพรีเมี่ยม ราคาขายเริ่มต้นที่ 4.9 ล้านบาท ขณะนี้มียอดขายแล้ว 40% ส่วนโครงการอื่นๆ มีคอนโดฯ D-ONE ซอยอ่อนนุช 74/1 ที่กำลังเตรียมพัฒนา กลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นกลุ่ม B+ และ A

“วัฒนา” เผยว่า นโยบายหลักๆ ของบริษัทคือการพัฒนาโปรดักต์ที่มีความแตกต่าง และเป็นพรีเมี่ยม แต่จากนี้ไปจะขยายไปสู่ตลาดที่เป็นแมสมากขึ้น อย่างไรก็ตามยังให้ความสำคัญในเรื่องรูปลักษณ์การดีไซน์ การเลือกใช้วัสดุก่อสร้าง วัสดุตกแต่ง และการบริการหลังการขาย ขณะเดียวกันก็พยายามมองหาช่องว่างทางการตลาดเพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจ ในอนาคตพร้อมๆ กันไปด้วย

อ้างอิง http://www.thaicontractors.com

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

สิงหาคม 16, 2009

ประสบการณ์เก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในสหรัฐอเมริกา
โดย : ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการ ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (AREA)
AREA นำข้าราชการ เอกชนไทยดูงานสหรัฐ ทำความเข้าใจเรื่องเก็บภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง หวังเป็นแนวให้รัฐไทยพิจารณาภาษีที่ดินรอบใหม่
จากการที่ประเทศไทย (อาจ) มีภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างเพื่อนำมาใช้นั้น ในสหรัฐอเมริกามีการดำเนินการอย่างไรต่อไปนี้เป็นประสบการณ์ที่ดร.โสภณ พรโชคชัย ได้นำคณะข้าราชการ และภาคเอกชนไทยไปดูงานในสหรัฐอเมริกา เพื่อให้เห็นอารยธรรมการเก็บภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งในสหรัฐอเมริกา เรียกว่า ภาษีทรัพย์สินในการบริหารราชการส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นของสหรัฐอเมริกานั้น ได้แบ่งพื้นที่ของประเทศออกเป็น 50 มลรัฐ ในแทบทุกมลรัฐจะมีองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นที่เรียกว่า County ซึ่งมีอยู่รวมกันประมาณ 7,000 แห่ง และในแต่ละ County จะมี City หรือ Town คือ นครหรือเมือง ซึ่งอาจมีขนาดเล็กๆ ไม่กี่ร้อยคนจนถึงเป็นแสนคน อย่างไรก็ตามในบางมลรัฐอาจมีระบบอื่นๆ ที่ไม่ได้เรียกว่า County ก็ได้แต่มีการแบ่งระดับขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นคล้าย ๆ กัน
วาชูเคาน์ตี้ (Washoe County) มลรัฐเนวาดา
วาชูเคาน์ตี้ประกอบด้วยนครรีโน และนครอื่นๆ มีขนาดประมาณ 4.6 ล้านเอเคอร์ หรือประมาณ 16,000 ตร.กม. หรือเท่ากับสิบเท่าของกรุงเทพมหานคร ซึ่งตัวทรัพย์สินประกอบด้วย สังหาริมทรัพย์ 33,000 รายการ อสังหาริมทรัพย์ 171,000 รายการ ซึ่งมีทั้งที่อยู่อาศัย อสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ และอื่นๆ ฝ่ายประเมินค่าทรัพย์สินของ Washoe County สามารถสร้าง CAMA เพื่อประเมินค่าทรัพย์สินได้ปีละ 100,000 รายการจาก 171,000 รายการ และในอนาคตคาดว่าจะสามารถประเมินใหม่ได้ทุกปี ในวาชูเคาน์ตี้นี้ใช้มูลค่าตลาดเป็นฐาน โดยให้นำมาคิดเพื่อการเสียภาษีเพียง 35% ของราคาตลาด เช่น ถ้าทรัพย์สินราคา 1 ล้านบาท ก็จะคิดเพื่อการเสียภาษีเพียง 350,000 บาท เป็นต้น อัตราภาษีที่เสียก็ประมาณ 3% สำหรับที่อยู่อาศัย และไม่เกิน 8% สำหรับทรัพย์สินที่สร้างรายได้จึงเสียภาษีประมาณ 10,500 บาทต่อปี สำหรับทรัพย์สินที่มีราคา 350,000 บาท หรือประมาณ 1-2% ของมูลค่าตลาดผลของการประเมินค่าทรัพย์สินนี้ได้รับการยอมรับจากประชาชนเจ้าของทรัพย์สิน และแทบไม่มีใครไม่ยอมจ่ายภาษีเลย (เก็บได้ราว 99.6%) ในกรณีผู้ที่ขัดขืนก็อาจถูกฟ้องบังคับขายทอดตลาดได้ จึงไม่มีใครพยายามไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย เจ้าหน้าที่ในสำนักงานประเมินค่าทรัพย์สินนั้นมี 85 คน มีงบประมาณราว 7.1 ล้านดอลลาร์ต่อปี หรือประมาณ 250 ล้านบาท และ ส่วนใหญ่ใช้เพื่อการพนักงาน นอกจากนี้สำนักประเมินฯ ยังมีงบประมาณค่าใช้จ่ายเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ อีกราว 1 ล้านดอลลาร์ต่อปี และสามารถจัดเก็บภาษีได้ประมาณ 470 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (15,000 ล้านบาท) โดย 20 ล้านดอลลาร์ เก็บจากสังหาริมทรัพย์ และอีก 450 ล้านดอลลาร์เก็บจากอสังหาริมทรัพย์

เมืองนอร์ฟอร์ค มลรัฐแมสซาชูเซ็ต
เมืองนอร์ฟอล์คตั้งอยู่ห่างจากนครบอสตันไปทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 40 กิโลเมตร ในมลรัฐแมสซาชูเซ็ตต์ เป็นเมืองขนาดเล็กที่มีบ้านเพียง 2,895 หน่วย แต่มีแปลงที่ดินทั้งหมดเกือบ 4,000 แปลง เมืองนี้จัดเก็บภาษีทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ได้ 520 ล้านบาท และสังหาริมทรัพย์ได้ 12 ล้านบาท รวม 532 ล้านบาท คิดเป็น 55%ของงบประมาณทั้งปีซึ่งเป็นเงิน 960 ล้านบาท (532 ล้านที่เก็บได้+428 ล้าน ได้รับการอุดหนุนของมลรัฐ) อัตราภาษีทรัพย์สินทั้งสังหาริมทรัพย์ และอสังหาริมทรัพย์ คือ 1.193% เช่นถ้าใครมีบ้านราคา 1 ล้านบาท ก็ต้องเสียภาษี 11,930 บาท การที่เก็บเก็บภาษีท้องถิ่นในรูปแบบภาษีทรัพย์สินน้อยเช่นนี้ สะท้อนให้เห็นว่าท้องถิ่นไทยขึ้นกับรัฐบาลส่วนกลางในการจัดสรรงบประมาณเป็นอย่างมาก และนี่อาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ประชาธิปไตยที่ทุกฝ่ายควรมีส่วนร่วมไม่มีโอกาสหยั่งรากในผืนแผ่นดินไทย ชาวบ้านผู้เป็นเจ้าของบ้านในเมืองต่างๆ ในสหรัฐอเมริกาสามารถแย้งราคาที่ทางราชการประเมินเพื่อการเสียภาษีให้ตนได้ แต่ปรากฏว่ามีน้อยรายมากที่แย้ง อย่างที่เมืองนอร์ฟอล์คนี้มีแย้งเพียง 30 ราย หรือ 0.1% ของบ้านทั้งหมด

นครแองเคอะริจ มลรัฐอลาสก้า
นครแองเคอะริจนี้มีพื้นที่รวมกัน 4,921 ตร.กม.หรือ 1,900 ตร.ไมล์ แต่ส่วนใหญ่ 94% เป็นภูเขา มีประชากรประมาณ 270,000 คน มีแปลงที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยรวมกันประมาณ 94,000 แปลง (ส่วนมากบ้านหนึ่งหลังมี 1 แปลง) รวมมูลค่าของที่อยู่อาศัยได้ประมาณ 880,000 ล้านบาท หรือตกเป็นเงินแปลงละ 9.362 ล้านบาท ในนครแห่งนี้ ท้องถิ่นจัดเก็บภาษีทรัพย์สินประมาณ 1% ของมูลค่าตลาดเช่นกันคือ เก็บได้ประมาณ 8,800 ล้านบาท ต่อปีมาใช้จ่ายเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ที่น่าสนใจอย่างหนึ่งก็คือ ระบบทะเบียนทรัพย์สินโดยเฉพาะอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจัดทำโดยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์นั้น สามารถนำมาใช้ได้โดยหน่วยงานแทบทุกแห่ง ทั้งตำรวจดับเพลิง หน่วยงานสาธารณูปโภค แม้แต่นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ ทำให้ระบบนี้มีผู้ช่วยออกค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ซึ่งต่างจากประเทศไทยที่เราพัฒนาแบบ “แยกส่วน” ทำให้เกิดความสูญเปล่า ขาดประสิทธิภาพเท่าที่ควร แล้วยังอาจเป็นช่องทางในการทุจริตกับโครงการ GIS ขนาดใหญ่ด้วยการจัดเก็บภาษีทรัพย์สิน หรือในประเทศไทยเรียกว่า ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (เพราะเราจำกัดเฉพาะอสังหาริมทรัพย์) นั้นสามารถเป็นจริงได้ และสามารถดำเนินการให้เป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายได้ หากได้เริ่มทดลองใช้แล้วย่อมจะทำให้เห็นคุณค่าจากผลดีของการเสียภาษี (หากภาษีไม่ถูกใครฉ้อราษฎร์บังหลวงเสียก่อน)!

อ้างอิง http://www.thaicontarctors.com

ปัญหาการศึกษาไทยในปัจจุบัน

สิงหาคม 13, 2009

ปัญหาการศึกษาไทยในปัจจุบัน
พูดคุยกับบ.ก / สิงหาคม 2552

ผมเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าทุกท่านคงเห็นด้วยกับผม “เรื่องของคุณภาพการศึกษาในประเทศไทย” ที่นับวันมีแต่จะตกต่ำมากขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะทุกคนแทบจะไม่สามารถได้อะไรกับเด็กจบการศึกษาใหม่ๆเลย นอกจากจะไม่มีปะสบการณ์แล้ว ความรู้แทบไม่ได้มากันเอาเสียเลย ความตั้งใจนั้นไม่ต้องพูดถึง ไม่มีเอามากๆ แต่ไอ้ที่ซ้ำร้ายไปกว่านั้น คือ ไอ้ที่เรียนมากนั้นมันผิดกันสุดๆ จนยากที่จะนึกว่า มันจบการศึกษาระดับไหนกันมา ต้องกลับมาดูใบสมัครและใบปริญญากันอีกหลายรอบ ว่าไอ้ที่เราคุยด้วยนะผู้ประกอบวิชาชีพ ที่ต้องรับผิดชอบกับความปลอดภัยชีวิตและทรัพย์สินของคนอื่น

ภาษาอังกฤษนะคงไม่ต้องพูดถึง เพราะส่วนใหญ่พูดกันไม่ได้อยู่แล้ว และไอ้ที่ซ้ำร้ายไปกว่านั้น ภาษาไทยเขียนกันไม่ค่อยเป็นเอาเสียเลย หากคุณไม่เชื่อเอาเด็กจบใหม่มาคน หรือหลายๆคนก็ได้ มาเขียนเป็นภาษาเขียนให้คนอื่นอ่านเข้าใจได้ในแบบราชการ หรือ ธุรกิจก็ได้ ซึ่งผลที่ได้รับน่าจะผ่านไม่เกิน30%

หากได้มีโอกาสสัมภาษณ์ก็จะเห็นถึงทัศนะคติมากขึ้น ส่วนใหญ่อยากจะเป็นดารา นักร้อง นายแบบ เอาเป็นว่า อยากเรียนด้านนี้ก็เพราะเท่ห์หน่อย จบแล้วไอ้ที่มาสมัครทำงานนะก็เพราะรอเขาโทรเรียกตัวไปเป็นนักร้อง ดารา ตามที่ได้สมัครเอาไว้ จะดูดีหน่อยหากได้ขึ้นมาว่าทำอะไรอยู่ ยังดีกว่าบอกชาวบ้านร้านช่องว่าไม่ได้ทำไร แต่อย่าเผลอไปถามพี่ท่านเอานะว่า มีเป้าหมายอะไรในชีวิตมั้ง ส่วนใหญ่ก็จะได้รับคำตอบว่า “อยากค้นหาตัวเองซักพัก” บางครั้งผมก็อดถามต่อไปไม่ได้ว่า“ขอโทษครับแล้วไปทำตกไว้แถวไหนละครับ”

ผมเองมีประสบการณ์ในการรับนักศึกษามาฝึกงานมาแล้วเกือบทุกสถาบันไม่ค่อยได้ต่างกันมากสำหรับเอกชนส่วนมหาวิทยาลัยภาครัฐที่ดีๆนั้น มีความรู้ค่อนข้างดีเมื่อเปรียบเทียบกับมหาวิทยาลัยทั่วๆไป แต่มักจะไม่มีเข้ามาในตลาดแรงงาน ส่วนใหญ่จะไปเรียนต่อปริญญาโท กันเกือบทั้งหมด ไม่งั้นก็ไปทำงานที่กับครอบครัวกันเป็นส่วนใหญ่แต่เหมือนเดิมละครับอยากเป็นดารานักร้อง

แต่ที่ผมเองก็เจอเร็วๆนี้นะ ผมเองก็คิดไม่ถึงมาก่อน เพราะผมเองก็คิดว่าผมพบเห็นกับงานแปลกแบบนี้มาเยอะ ทั้งเสริมเหล็กคานช่วงเดียว(Simple Beam) เป็นเหล็กครึ่งคาน แล้วจบเอาซะดื้อๆ พอสอบถามก็บอกว่า จะไปเรียนเอาความรู้ตอนปริญญาโท เป็นต้น และที่ผมว่าเจ็บจริงนะ คือ ผมลองให้นักศึกษาฝึกงานด้าน ออกแบบผลิตภัณฑ์ จากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ลองออกแบบตู้ใส่ซองจดหมายแบบอเนกประสงค์ แต่ที่ได้เห็นผมยิ่งกว่าผมเห็นผีหลอก ซึ่งผมเองก็ไม่ได้คาดหวังอะไรกันมาก เพราะเคยเจอมาแล้ว แต่คราวนี้ซิเด็ด เพราะนักศึกษาฝึกงานเขียน มาตราส่วน 1:20 ซึ่งเขียนด้วยนะครับว่า Scal (มะได้พิมพ์ผิดครับ) และทำกันมา 3 คน ผิดเหมือนกันหมดเลย มีเส้นบอกระยะอีกด้วย เป็น 2.20 ซม. 3.50 ซม. ผมเลยงง ว่าระยะอะไรเหรอ ซึ่งเขาทำหน้าแปลกใจว่าทำไมผมถึงไม่รู้จักแค่เนี้ยเอง

ผมเองก็เพื่งเจอหน่วย 2.00 ซม. หากมาตราส่วน 1:20 ก็ต้องใช้เครื่องคิดเลขคิดเอา ผมเลยถามว่าทำไมทำแบบนี้ (อีกที) ก็ได้รับคำตอบว่าเขาเองก็เรียนและสอนกันมาแบบนี้ผมเลยคิดว่าหากเป็นการเขียนแบบตกแต่งซักห้องหนึ่งมิต้องใช้เวลาในการคำนวณหาระยะโต๊ะตู้เตียงกันเป็นวันๆเลยหรือนี้

หากเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ และลองคำนวณกันแบบคร่าวๆว่าอีกซักสิบ-ยี่สิบปีจะเป็นกันอย่างไรนะ คุณภาพการศึกษาไทย น่าจะได้กันที่ว่า คนๆหนึ่งต้องมีกันสองคน เพราะคนหนึ่งเอาไว้หายใจเข้า ส่วนอีกคนเอาไว้หายใจออก

อ้างอิง http://www.thaicontractors.com

กระตุ้นเศษฐกิจ

สิงหาคม 13, 2009

ใช้เงิน (ไปเรื่อยๆ) หรือกระตุ้นเศษฐกิจ (สร้างงาน)?

หากจะถามถึงว่าตอนนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการก่อสร้าง อยากจะให้รัฐบาลทำอะไรมากที่สุด คงได้คำตอบในทางเดียวกันว่า อยากให้ทำงานที่เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจจริงๆ แทนการเอาเงินไปช่วยอุ้มคนโน้นทีคนนี้ที่ เพราะหากการที่ไปอุ้มแล้ว หลังจากนั้นจะทำกันยังไงต่อละครับ เพราะรัฐบาลก็ต้องไปเก็บภาษีมาจากประชาชนอีก และในเมื่อเอกชน หรือประชาชนที่เสียภาษีไม่มีรายได้ ก็ย่อมต้องเสียภาษีน้อยลงไปกว่าเดิม แต่รัฐบาลก็ใช้เงินเหล่านั้นไปหมดแล้ว ทำให้ระยะยาวรัฐบาลต้องขาดเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้นไปอีก

หากจะต้องไปขายพันธบัตรเพิ่ม ก็คงทำได้อีกเช่นกัน แต่รัฐบาลก็ต้องตั้งสำรองเงินที่ต้องจ่ายคืนเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆทุกปี หากถามผมตรงๆว่าแล้วประเทศไทยเราจะอยู่กันได้หรือไม่ ผมตอบแบบฟันธงกันไปเลย อยู่ได้แน่นอนครับ ประเทศนะครับไม่ไช่องค์กรเอกชน ประเทศสหรัฐอเมริกามีหนี้สินพะรุงพะรังมากกว่าเรามากมายมหาศาล ก็ยังเดินหน้ากันแบบหน้าตาเฉย แต่ก็ขอให้คนไทยเราเกิดความเชื่อมั่นซะอย่าง

ผมอยากจะเห็นรัฐบาลนำเงินจากท้องพระคลังไปกระตุ้น หรือนำไปใช้จ่ายกับตัวที่ใช้ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจจริงๆ เพราะจะเป็นการสร้างงานให้ทุกคนมีงานทำแล้วทุกอย่างก็ค่อยๆ แก้กันไป ทำให้ทุกคนก็เดินกันไปได้ ย่อมดีกว่าโครงการที่จ่ายๆ ไปเรื่อยๆ แล้วรอให้เศรษฐกิจโลกดีขึ้นเอง

ที่ผมห่วงนั้นก็ คือ เราจะสูญเสียการแข่งขัน ทำให้คนไทยต้องตกเป็นลูกจ้างของคนต่างประเทศเสียทั้งหมด โดยต้องเช่าที่ดิน อาคารที่อยู่อาศัย จากบริษัทซึ่งถือหุ้นโดยคนต่างประเทศ ท่านรัฐบาลครับ ช่วยดูแล คนไทยด้วยครับ เพราะผมว่าน่าจะดีกว่าพากันไปเสียเวลากับหมีแพนด้าที่เชียงใหม่กันทั้งประเทศ

อ้างอิง http://www.thaicontractors.com

เกณฑ์การคิดปริมาณวัสดุมวลรวม

มิถุนายน 18, 2009

เกณฑ์การคิดปริมาณวัสดุมวลรวมของส่วนประกอบต่าง ๆ
ราคากลางงานก่อสร้าง / เกณฑ์การคิดปริมาณวัสดุมวลรวมของส่วนประกอบต่าง ๆ
1. ปริมาณวัสดุมวลรวมของงานคอนกรีตส่วนผสมชนิดต่าง ๆ (เผื่อวัสดุเสียหายแล้ว)
1.1 คอนกรีตส่วนผสม 1:3:5 โดยปริมาตร ปริมาณ 1 ลบ.ม. (คอนกรีตหยาบ)
1.1.1 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ = 260 กก.
1.1.2 ทรายหยาบ = 0.63 ลบ.ม.
1.1.3 หินย่อยหรือกรวด = 1.03 ลบ.ม.
1.2 คอนกรีตส่วนผสม 1:2:4 โดยปริมาตร ปริมาณ 1 ลบ.ม.
1.2.1 ปูนซีเมนต์ ปอร์ดแลนด์ = 343 กก.
1.2.2 ทรายหยาบ = 0.56 ลบ.ม.
1.2.3 หินย่อยหรือกรวด = 1.09 ลบ.ม.
1.3 คอนกรีตส่วนผสม ค.2 ปริมาณ 1 ลบ.ม. (STRENGTH 240 กก./ตร.ซม.)
1.3.1 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ = 336 กก.
1.3.2 ทรายหยาบ = 0. 60 ลบ.ม.
1.3.3 หินย่อยหรือกรวด = 1.09 ลบ.ม.
1.4 คอนกรีตส่วนผสม ค.3 ปริมาณ 1 ลบ.ม. (STRENGTH 300 กก./ตร.ซม.)
1.4.1 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ = 360 กก.
1.4.2 ทรายหยาบ = 0.66 ลบ.ม.
1.4.3 หินย่อยหรือกรวด = 0.92 ลบ.ม.
หมายเหตุ คอนกรีตปริมาตร 1 ลบ.ม. ใช้น้ำผสมประมาณ 180 ลิตร
2. ปริมาณวัสดุมวลรวมของงานผนังก่อด้วยวัสดุชนิดต่าง ๆ
2.1 ผนังก่ออิฐดินเผาแท่งตัน (อิฐมอญขนาดแผ่นประมาณ 3.3×8.7×17.5 ซม.)
2.1.1 ก่อหนาครึ่งแผ่นอิฐ เนื้อที่ 1 ตร.ม. (เผื่อวัสดุเสียหายแล้ว)
1. อิฐมอญ = 138 แผ่น
2. ปูนซีเมนต์ผสม = 16 กก.
3. ปูนขาว = 10.29 กก.
4. ทรายหยาบ = 0.050 ลบ.ม.
5. น้ำ = 10 ลิตร
2.1.2 ก่อหนาเต็มแผ่นอิฐ เนื้อที่ 1 ตร.ม. (เผื่อวัสดุเสียหายแล้ว)
1. อิฐมอญ = 276 แผ่น
2. ปูนซีเมนต์ผสม = 34 กก.
3. ปูนขาว = 20.59 กก.
4. ทรายหยาบ = 0.12 ลบ.ม.
5. น้ำ = 20 ลิตร
2.2 ผนังก่อคอนกรีตบล๊อค
2.2.1 ผนังก่อคอนกรีตบล๊อค ขนาด 7.0×19.0x39.0 ซม. (ผนังหนา 7.0 ซม.)
เนื้อที่ 1 ตร.ม. (เผื่อวัสดุเสียหายแล้ว)
1. คอนกรีตบล๊อค = 13 ก้อน
2. ปูนซีเมนต์ = 6.75 กก.
3. ปูนขาว = 3.87 กก.
4. ทรายหยาบ = 0.03 ลบ.ม.
5. น้ำ = 5 ลิตร
2.2.2 ผนังก่อคอนกรีตบล๊อค ขนาด 9.0×19.0x39.0 ซม. (ผนังหนา 9.0 ซม.)
เนื้อที่ 1 ตร.ม (เผื่อวัสดุเสียหายแล้ว)
1. คอนกรีตบล๊อค = 13 ก้อน
2. ปูนซีเมนต์ = 9.47 กก.
3. ปูนขาว = 5.43 กก.
4. ทรายหยาบ = 0.04 ลบ.ม.
5. น้ำ = 5 ลิตร
2.2.3 ผนังก่อคอนกรีตบล๊อคชนิดระบายอากาศ ขนาด 9.0×19.0x39.0 ซม.
เนื้อที่ 1 ตร.ม. (เผื่อวัสดุเสียหายแล้ว)
1. คอนกรีตบล๊อค = 13 ก้อน
2. ปูนซีเมนต์ = 9.47 กก.
3. ปูนขาว = 5.43 กก.
4. ทรายหยาบ = 0.04 ลบ.ม.
5. น้ำ = 5 ลิตร
หมายเหตุ
ก. ปูนก่อส่วนผสมระหว่าง ปูนซีเมนต์ ปูนขาว และทรายหยาบ ในอัตราส่วน 1:1:4 โดย
ปริมาตรปูนก่อ ปริมาตร 1 ลบ.ม. ใช้วัสดุดังนี้ (เผื่อวัสดุเสียหายแล้ว)
– ปูนซีเมนต์ = 320 กก.
– ปูนขาว = 0.25 ลบ.ม.
– ทรายหยาบ = 1.00 ลบ.ม.
ข. ปูนซีเมนต์ 1 ถุง หนัก 50 กก. ปริมาตรประมาณ 0.038 ลบ.ม.
ค. ปูนขาว 1 ถุง หนักประมาณ 7.7 กก. ปริมาตรประมาณ 0.015 ลบ.ม.
ง. แนวปูนก่อ คิดหนาประมาณ 2.0 – 2.5 ซม.
3. ปริมาณวัสดุมวลรวมของปูนฉาบ
3.1 ปูนฉาบ ส่วนผสมระหว่างปูนซีเมนต์ ปูนขาว และทรายละเอียด ในอัตราส่วน
1 : 1 : 5 โดยปริมาตรปูนฉาบ 1 ลบ.ม. ใช้วัสดุดังนี้ (เผื่อวัสดุเสียหายแล้ว)
3.1.1 ปูนซีเมนต์ผสม = 290 กก.
3.1.2 ปูนขาว = 0.26 กก.
3.1.3 ทรายละเอียด = 1.20 ลบ.ม.
3.2 ปูนฉาบหนาประมาณ 1.5 ซม. ในเนื้อที่ 1 ตร.ม. ใช้วัสดุดังนี้ (เผื่อวัสดุเสียหายแล้ว)
3.2.1 ปูนซีเมนต์ผสม = 20 กก.
3.2.2 ปูนขาว = 7.7 กก.
3.2.3 ทรายละเอียด = 0.03 ลบ.ม.
3.2.4 น้ำ = 3 ลิตร
4. ปริมาณวัสดุของงานฝาชนิดต่าง ๆ
4.1 ไม้ฝาขนาด 1/2″x6″ ตีทับเกล็ดตามตั้ง และตีซ้อนเกล็ดตามนอน ทับกัน 1 1/2″ คร่าวไม้ขนาด 1 1/2″x3″ วางห่างกัน 0.50 ม. (คร่าวทางเดียว)
เนื้อไม้ 1 ม 2 ใช้วัสดุดังนี้ (เผื่อวัสดุเสียหายแล้ว)
4.1.1 ไม้ฝา = 0.725 ลบ.ฟ.
4.1.2 ไม้คร่าว = 0.25 ลบ.ฟ.
4.1.3 ตะปู = 0.15 กก.
4.2 ฝาวัสดุแผ่นสำเร็จรูปชนิดขนาดต่าง ๆ ตีด้านเดียว คร่าวไม้ขนาด 1 1/2″x3″ วางห่างกัน 0.40×0.60 ม. (คร่าว 2 ทาง) เนื้อที่ 1 ตร.ม. ใช้วัสดุดังนี้ (เผื่อวัสดุเสียหายแล้ว)
4.2.1 วัสดุแผ่นสำเร็จรูป = 1 ตร.ม.
4.2.2 ไม้คร่าว = 0.48 ลบ.ฟ.
4.2.3 ตะปู = 0.20 กก.
4.3 ฝาวัสดุแผ่นสำเร็จรูปชนิดขนาดต่าง ๆ ตี 2 ด้าน คร่าวไม้ขนาด 1 1/2″x3″ วางห่างกัน 0.40×0.60 ม. (คร่าว 2 ทาง ) เนื้อที่ 1 ตร.ม. ใช้วัสดุดังนี้ (เผื่อวัสดุเสียหายแล้ว)
4.3.1 วัสดุแผ่นสำเร็จรูป = 2 ตร.ม.
4.3.2 ไม้คร่าว = 0.48 ลบ.ฟ.
4.3.3 ตะปู = 0.25 กก. หมายเหตุ วัสดุแผ่นสำเร็จรูป เผื่อเสียหายที่ราคาต่อ 1 ม 2 โดยให้เผื่อเสียหายที่ขนาดแผ่นของวัสดุประมาณ 10 %
5. ปริมาตรวัสดุงานฝ้าเพดานชนิดต่าง ๆ
5.1 ฝ้าเพดานวัสดุแผ่นสำเร็จรูปขนาดต่าง ๆ คร่าวไม้ขนาด 1 1/2″x3″ วางห่างกัน 0.40×0.60 ม. (คร่าว 2 ทาง)
5.1.1 วัสดุแผ่นสำเร็จรูป = 1 ตร.ม.
5.1.2 ไม้คร่าว = 0.51 ลบ.ฟ.
5.1.3 ตะปู = 0.20 กก.
หมายเหตุ วัสดุแผ่นสำเร็จรูปเผื่อเสียหายที่ราคาต่อ 1 ม 2 โดยให้เผื่อเสียหายที่ขนาดแผ่นของวัสดุประมาณ 10%
5.2 ฝ้าเพดานไม้ขนาด 1/2″ ความกว้างขนาดต่าง ๆ คร่าวไม้ขนาด 1 1/2″x3″ วางห่างกัน 0.40 ม. (คร่าวทางเดียว) เนื้อที่ 1 ตร.ม. ใช้วัสดุดังนี้ (เผื่อวัสดุเสียหายแล้ว)
5.2.1 ไม้ฝ้าเพดาน = 0.55 ลบ.ฟ.
5.2.2 ไม้คร่าว = 0.25 ลบ.ฟ.
5.2.3 ตะปู = 0.30 กก.
6. ปริมาณวัสดุของงานปูพื้นและบุผนังด้วยวัสดุแผ่นสำเร็จรูปชนิดขนาดต่าง ๆ ที่มีปูนทรายยึด ปูนทราย ส่วนผสมระหว่างปูนซีเมนต์และทรายหยาบในอัตราส่วน 1: 3 โดยปริมาตร ปริมาณ 1 ลบ.ม. ใช้วัสดุดังนี้ (เผื่อวัสดุเสียหายแล้ว)
– ปูนซีเมนต์ = 400 กก.
– ทรายหยาบ = 0.912 ลบ.ม.
6.1 พื้นปูวัสดุแผ่นสำเร็จรูปขนาดต่าง ๆ (ปูนทรายใช้หนา 5 ซม.) เนื้อที่ 1 ตร.ม. ใช้วัสดุดังนี้
6.1.1 วัสดุแผ่นจำนวนแผ่น = ปริมาณที่ใช้จริงใน 1 ตร.ม. + เผื่อเสียหาย 5%
6.1.2 ปูนซีเมนต์ผสม = 20 กก.
6.1.3 ทรายหยาบ = 0.11 ลบ.ม.
6.1.4 น้ำ = 6 ลิตร
6.2 ผนังบุวัสดุแผ่นสำเร็จรูปชนิดต่าง ๆ (ปูนทรายใช้หนา 3 ซม.) เนื้อที่ 1 ตร.ม. ใช้วัสดุดังนี้
6.2.1 วัสดุแผ่นจำนวนแผ่น = ปริมาณที่ใช้จริงใน 1 ตร.ม. + เผื่อเสียหาย 5%
6.2.2 ปูนซีเมนต์ = 12 กก.
6.2.3 ทรายหยาบ = 0.07 ลบ.ม.
6.2.4 น้ำ = 4 ลิตร
7. ปริมาณวัสดุของงานปูนทราย ปูนทราย ส่วนผสมระหว่างปูนซีเมนต์และทรายหยาบ ในอัตราส่วน 1:3 โดยปริมาตร ปริมาณ 1 ลบ.ม. ใช้วัสดุดังนี้ (เผื่อวัสดุเสียหายแล้ว)
– ปูนซีเมนต์ผสม = 400 กก.
– ทรายหยาบ = 0.912 ลบ.ม.
7.1 ปูนทรายของงานฉาบผิวซีเมนต์ขัดมันและซีเมนต์ขัดหยาบ (หนา 2 มม.) เนื้อที่ 1 ตร.ม. ใช้วัสดุดังนี้
7.1.1 ปูนซีเมนต์ผสม = 11 กก.
7.1.2 ทรายหยาบ = 0.018 ลบ.ม.
7.1.3 ปูนขาว = 7.7 กก.
7.1.4 น้ำ = 3 ลิตร
7.2 ปูนทรายของงานปูนทรายรองพื้น ผนังทรายล้างหรือหินล้าง (หนา 3 ซม.) เนื้อที่ 1 ตร.ม. ใช้วัสดุ ดังนี้
7.2.1 ปูนซีเมนต์ผสม = 12 กก.
7.2.2 ทรายหยาบ = 0.07 ลบ.ม.
7.2.3 น้ำ = 4 ลิตร
7.3 ปูนทรายของงาน ปูนทรายรองพื้น พื้นทรายล้างหรือหินล้างหรือหินขัด หรือแต่งผิวดาดฟ้า (ต้องเอียงลาด) (หนา 5 ซม.) เนื้อที่ 1 ตร.ม. ใช้วัสดุดังนี้
7.3.1 ปูนซีเมนต์ผสม = 20 กก.
7.3.2 ทรายหยาบ = 0.11 ลบ.ม.
7.3.3 น้ำ = 6 ลิตร
ปริมาณวัสดุของงานพื้นไม้ชนิดเข้าลิ้น ความหนา 1″ ทุกขนาด ความกว้างเนื้อที่ 1 ตร.ม.
ใช้ไม้ประมาณ = 1.15 ลบ.ฟ. (เผื่อวัสดุเสียหายแล้ว)
อ้างอิง http://www.thaicontractors.com

วิธีจัดทำราคากลางค่าก่อสร้าง

มิถุนายน 18, 2009

วิธีจัดทำราคากลางค่าก่อสร้างอาคารและสิ่งปลูกสร้างของทางราชการ
ราคากลางงานก่อสร้าง / วิธีจัดทำราคากลางของทางราชการ
การจัดทำราคากลางค่าก่อสร้างอาคารและสิ่งปลูกสร้างของทางราชการ เพื่อใช้จัดหาผู้รับจ้างก่อสร้าง และเพื่อการอื่นในส่วนที่เกี่ยวกับการที่สนับสนุนให้งานก่อสร้างนั้น ๆ แล้วเสร็จไปด้วยดีเป็นประโยชน์สูงสุด แก่หน่วยราชการนั้น กระทำได้โดยวิธีการถอดแบบรูปรายการคำนวณราคากลางหรือวิธีประมาณราคา โดยละเอียด
วิธีการถอดแบบคำนวณราคากลางหรือวิธีการประมาณราคาโดยละเอียดนั้นมีขั้นตอนในการปฏิบัติดังนี้
การปฏิบัติงานถอดแบบคำนวณราคากลาง
ขั้นตอนที่ 1 เตรียมการ
1.1 ศึกษา หรือทำความเข้าใจเกี่ยวกับแบบรูปและรายการก่อสร้างของสิ่งปลูกสร้าง
ที่จะทำการถอดแบบคำนวณราคา
– เป็นสิ่งปลูกสร้างประเภทใด
– เป็นสิ่งปลูกสร้างตึก หรือไม้ หรือตึกครึ่งไม้
1.2 จัดทำบัญชีส่วนประกอบสิ่งปลูกสร้าง
(1) งานดิน,ทราย,ขุดดินฐานราก
(2) งานเข็มทั้งหมด
(3) งานโครงสร้าง ค.ส.ล.ทั้งหมด
(4) งานโครงหลังคาทั้งหมด
(5) งานมุงหลังคาทั้งหมด
(6) งานผิวพื้นทั้งหมด
(7) งานเพดานทั้งหมด
(8) งานผนังทั้งหมด
(9) งานประตูหน้าต่างช่องแสงทั้งหมด
(10) งานสุขภัณฑ์พร้อมอุปกรณ์ ทั้งหมด
(11) งานสุขาภิบาลทั้งหมด
(12) งานไฟฟ้าทั้งหมด
(13) งานทาสีทั้งหมด
(14) งานราวระเบียง,ราวบันไดและอื่น ๆ
(15) ค่า FACTOR F
(16) ค่าครุภัณฑ์ประกอบอาคารทั้งหมด
1.3 แบบฟอร์มการประมาณราคาให้กำหนดแยกตามประเภทชนิดของงานดังนี้
(1) แบบประมาณการงานโดยทั่วไป
(2) แบบประมาณการงาน ค.ส.ล.
(3) แบบประมาณการงานประเภทไม้
(4) แบบรวมปริมาณงานและวัสดุก่อสร้างทั้งหมดจากแบบต่าง ๆ หรือเป็น “บัญชีแสดงปริมาณงาน และวัสดุก่อสร้าง”
(5) แบบใบสรุปราคา หรือใบปะหน้า ใช้กรอกรายละเอียด ค่าวัสดุ ค่าแรงงาน ของแต่ละรายการ
พร้อมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และราคาค่าก่อสร้างเพื่อแจ้งผลให้หน่วยงานเจ้าของอาคารทราบ
ขั้นตอนที่ 2 การดำเนินงาน
2.1 ประมาณการหาปริมาณงานและวัสดุก่อสร้างต่อหน่วย
(1) ประมาณการตามบัญชีส่วนประกอบอาคาร
(2) ประมาณในแบบแยกประเภทงาน
(3) เผื่อปริมาณงานและวัสดุตามเกณฑ์ที่กำหนด
2.2 นำผลที่ได้จาก 2.1 ไปกรอกลงในบัญชีแสดงปริมาณงานและวัสดุก่อสร้าง
โดยเรียงลำดับตามบัญชีส่วนประกอบอาคาร
2.3 ประมาณการหาค่าวัสดุ
นำราคาวัสดุต่อหน่วยจากบัญชีราคาวัสดุ กรอกลงในช่องราคาวัสดุต่อหน่วย
แล้ว x ด้วยจำนวนปริมาณวัสดุ นำผลที่ได้กรอกลงในช่องจำนวนเงินค่าวัสดุสิ่งของ
2.4 ประมาณการหาค่าแรงงาน
นำราคาค่าแรงงานต่อหน่วยจากบัญชีค่าแรงงาน กรอกลงในช่องค่าแรงงาน ต่อหน่วย
แล้ว x ด้วยจำนวนปริมาณวัสดุ นำผลที่ได้กรอกลงในช่องจำนวนเงินค่าแรงงาน
2.5 รวมจำนวนเงินค่าวัสดุสิ่งของ และค่าแรงงานของแต่ละรายการ นำผลที่ได้กรอกลงใน
ช่องยอดรวมค่าวัสดุและแรงงาน
2.6 รวมยอดค่าวัสดุและค่าแรงงานทั้งหมด
2.7 ประมาณการหา ค่าอำนวยการและดำเนินงานโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของค่าวัสดุและแรงงาน
2.8 ประมาณการหากำไร โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของค่าวัสดุและแรงงาน
2.9 รวมเงิน ค่าวัสดุและแรงงาน ค่าอำนวยการและดำเนินงาน และกำไร
2.10 ประมาณการหา ค่าภาษีอากร โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของค่าวัสดุและแรงงาน + ค่าอำนวยการและดำเนินงาน + กำไร
2.11 สรุปค่าก่อสร้าง = ค่าวัสดุและแรงงาน x (ค่าอำนวยการและดำเนินงาน + กำไร + ภาษีอากร) = ค่า FACTOR F + ค่าครุภัณฑ์
*** หมายเหตุ รายการที่ 2.7, 2.8, 2.9 และ 2.10 ขณะนี้ไม่ต้องใช้แล้ว
ส่วนข้อ 2.11 สรุปค่าก่อสร้าง = ค่าวัสดุและแรงงาน x FACTOR F ***

อ้างอิง http://www.thaicontractors.com

การคำนวณราคากลางของอาคารและสิ่งก่อสร้าง

มิถุนายน 18, 2009

หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางของอาคารและสิ่งก่อสร้าง
ราคากลางงานก่อสร้าง / หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลาง
การจัดทำประมาณการค่าก่อสร้างทั้งอาคารหรือส่วนประกอบซึ่งเป็นของทางราชการที่จะต้องใช้ ประกอบการประกาศประกวดราคา และเป็นฐานเปรียบเทียบกับราคาที่ผู้รับจ้างเสนอ เพื่อจะทำการก่อสร้าง งานของทางราชการที่ใช้เงินงบประมาณ เงินบริจาคมีวัตถุประสงค์หรือเงินอื่น ๆ ที่จะต้องมีการ สอบราคา ประกวดราคา ซึ่งแต่เดิมทางกรมสามัญศึกษาได้ให้กองออกแบบและก่อสร้างเป็นผู้จัดทำ โดยการถอดแบบ รูปรายการพร้อมทั้งกำหนดราคากลางเป็นของส่วนกลาง ทั้งค่าวัสดุ ค่าแรงงาน ค่า Factor F ค่าครุภัณฑ์ และนำราคากลาง ที่จัดทำขึ้นไปใช้ทั่วประเทศ
จากข้อสังเกตของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ทางโรงเรียนไม่มีการจัดตั้งคณะกรรมการกำหนด ราคากลางในส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ได้ราคากลางเป็นราคาที่เป็นปัจจุบันทันเหตุการณ์และเป็นราคาในท้องถิ่น แต่ละแห่ง จึงจำเป็นจะต้องให้ทุกโรงเรียนผู้ได้รับมอบอำนาจ จัดตั้งคณะกรรมการกำหนดราคากลางขึ้น โดยใช้แนวทางในการกำหนดราคากลางของกองออกแบบและก่อสร้าง กรมสามัญศึกษา เป็นแนวปฏิบัติ ในการปรับลดหรือเพิ่มราคา ยกเว้นกรุงเทพมหานคร ให้คณะกรรมการกำหนดราคากลางที่กรม สามัญศึกษาแต่งตั้งขึ้นเป็นผู้ดำเนินการ
ราคากลาง
1. ปริมาณวัสดุตามที่ได้จัดทำไว้มีการเผื่อความเสียหายที่จะต้องเกิดขึ้นด้วย ปริมาณวัสดุบางอย่าง จึงไม่ตรงกับที่ใช้ในการก่อสร้างจริง
2. ราคาค่าวัสดุตามที่ได้ประมาณการไว้ไม่ตรงกับราคาวัสดุที่นำมาใช้ก่อสร้างจริง เพราะช่วง เวลาประมาณการกับช่วงซื้อวัสดุไปดำเนินการห่างกันมาก
3. ค่าแรงงานการก่อสร้างตามที่ได้ประมาณการไว้ไม่ตรงกับที่ว่าจ้างก่อสร้างจริง
4. ค่าดำเนินการต่าง ๆ ตามที่ได้ประมาณราคาไว้ไม่ตรงกับที่ใช้จ่ายจริงรวมทั้งค่าครุภัณฑ์ ประกอบอาคารด้วย เนื่องจากวัสดุก่อสร้างส่วนใหญ่ไม่สามารถจัดซื้อได้ทั้งหมดในท้องถิ่น

ราคากลางของคณะกรรมการกำหนดราคากลาง
ทางโรงเรียนจะต้องแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคากลางในส่วนท้องถิ่น เพื่อจัดทำราคากลาง ไว้สำหรับเปรียบเทียบ ปรับลดปริมาณวัสดุและราคาวัสดุให้ใกล้เคียงกับรายละเอียดปริมาณวัสดุและราคา วัสดุที่ผู้เสนอราคาที่ได้รับการคัดเลือกไว้ การปรับลดจะต้อง ไม่เกินวงเงินที่ผู้เสนอราคาที่ได้รับการคัดเลือกไว้ และจะต้องไม่เกินวงเงินงบประมาณที่ได้รับ เมื่อปรับลดรายละเอียดปริมาณวัสดุและราคาวัสดุเรียบร้อยแล้ว ให้นำบัญชีราคาก่อสร้างที่ได้ปรับลด (ใบแสดงรายการ วัสดุฯ) ของผู้ที่ได้รับการคัดเลือกไว้เป็นส่วนหนึ่งของ สัญญาจ้างด้วย การกำหนดราคากลางในส่วนท้องถิ่นสามารถดำเนินการได้ด้วยการถอดแบบรูปก่อสร้าง อันประกอบด้วย
1. ปริมาณวัสดุ
เมื่อทางโรงเรียนได้รับแบบรูปก่อสร้างพร้อมราคากลางของกองออกแบบและก่อสร้างแล้ว ให้คณะกรรมการกำหนดราคากลางที่ทางโรงเรียนแต่งตั้งนำราคากลางดังกล่าว มาปรับลดหรือ เพิ่มรายละเอียดปริมาณวัสดุและราคาวัสดุ เพื่อใช้เป็นราคากลางของงานที่ดำเนินการจัดจ้าง
2. ราคาวัสดุ
ได้จากราคาวัสดุที่ได้จากพาณิชย์จังหวัด หากไม่ครบทุกรายการให้ถือราคาของส่วนกลาง ตามเอกสารราคากลางของกองออกแบบและก่อสร้างได้
3. ราคาค่าแรงงาน
ได้จากบัญชีค่าแรงงานประจำจังหวัดนั้น ๆ หากไม่ครบทุกรายการให้ถือตามบัญชีค่าแรงงานที่ ทางสำนักงบประมาณประกาศ ณ ปีนั้น ๆ ตามเอกสารราคากลางของกองออกแบบและก่อสร้าง ที่ใช้ปีงบประมาณนั้น ๆ
4. ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
(ค่า Factor F ประกอบด้วย ค่าอำนวยการ,ค่าความผันผวน,ดอกเบี้ย,กำไร,ภาษี) ได้จากเอกสารการกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางในการก่อสร้างของทางราชการ ซึ่งทางสำนักงบประมาณเป็นผู้กำหนด ตามเอกสารราคากลางของกองออกแบบและก่อสร้าง ที่ใช้ปีงบประมาณนั้น ๆ
5. ค่าครุภัณฑ์ประกอบอาคาร (ถ้ามี)
ได้จากบัญชีกำหนดราคามาตรฐานของกรมสามัญศึกษาเป็นเกณฑ์ สำหรับค่าครุภัณฑ์ให้นำ ไปบวกหลังจากค่า Factor F แล้ว
คณะกรรมการกำหนดราคากลาง
1. คณะกรรมการกำหนดราคากลาง ประกอบด้วยกรรมการไม่น้อยกว่า 3 คน
ประธานกรรมการ 1 คน
กรรมการไม่น้อยกว่า 2 คน
2. คณะกรรมการกำหนดราคากลางควรมีคุณสมบัติและความรู้ความสามารถในเรื่องการประมาณ ราคา โดยโรงเรียนอาจเชิญหน่วยงานอื่นที่มีความรู้ความสามารถเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ กำหนดราคากลางด้วย
ราคากลางมีความหมายในตัวเองอยู่แล้วว่า เป็นเพียงราคาโดยประมาณหรือใกล้เคียงกับความ เป็นจริงมิใช่ราคาที่แท้จริงหรือถูกต้องตรงกับราคาของค่าก่อสร้างจริงเพราะเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จก็จะไม่ ปรากฏว่าราคาค่าก่อสร้างนั้นตรงกับราคาที่ได้จัดทำไว้ทุกรายการ สาเหตุเกิดจากเหตุผลหลายประการ

อ้างอิง http://www.thaicontractors.com

กระดาษทราย

มิถุนายน 11, 2009

ราคาวัสดุก่อสร้าง กรุงเทพมหานคร (ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
หมวดวัสดุสำหรับขัดผิว ราคา : บาท
กระดาษทรายขัดไม้ หน่วย เดือนก่อนหน้า มกราคม
เบอร์ 0 ขนาด 9 x 11 นิ้ว ตราจระเข้ 3 ดาว 144 แผ่น 550.00 550.00
เบอร์ 1 ขนาด 9 x 11 นิ้ว ตราจระเข้ 3 ดาว 144 แผ่น 550.00 550.00
เบอร์ 2 ขนาด 9 x 11 นิ้ว ตราจระเข้ 3 ดาว 144 แผ่น 612.00 612.00
เบอร์ 3 ขนาด 9 x 11 นิ้ว ตราจระเข้ 3 ดาว 144 แผ่น 657.00 657.00
เบอร์ 4 ขนาด 9 x 11 นิ้ว ตราจระเข้ 3 ดาว 144 แผ่น 701.00 701.00
เบอร์ 5 ขนาด 9 x 11 นิ้ว ตราจระเข้ 3 ดาว 144 แผ่น 772.00 772.00
กระดาษทรายน้ำ หน่วย เดือนก่อนหน้า มกราคม
เบอร์ 180 – 800 ขนาด 9 x 11 นิ้ว ตรานกนางแอ่น 100 แผ่น 1,250.00 1,250.00
ติดต่อสอบรายละเอียดเพิ่มเติม
สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถนนนนทบุรี 1 ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 โทร 0 2507 7000 โทรสาร 0 2507 5825 e-mail : indexmaster@moc.go.th

อ้างอิง http://www.thaicontractors.com

วัสดุสำหรับขัดผิว กระดาษทราย

มิถุนายน 11, 2009

ราคาวัสดุก่อสร้าง กรุงเทพมหานคร (ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
หมวดวัสดุสำหรับขัดผิว ราคา : บาท
กระดาษทรายขัดไม้ หน่วย เดือนก่อนหน้า กุมภาพันธ์
เบอร์ 0 ขนาด 9 x 11 นิ้ว ตราจระเข้ 3 ดาว 144 แผ่น 550.00 550.00
เบอร์ 1 ขนาด 9 x 11 นิ้ว ตราจระเข้ 3 ดาว 144 แผ่น 550.00 550.00
เบอร์ 2 ขนาด 9 x 11 นิ้ว ตราจระเข้ 3 ดาว 144 แผ่น 612.00 612.00
เบอร์ 3 ขนาด 9 x 11 นิ้ว ตราจระเข้ 3 ดาว 144 แผ่น 657.00 657.00
เบอร์ 4 ขนาด 9 x 11 นิ้ว ตราจระเข้ 3 ดาว 144 แผ่น 701.00 701.00
เบอร์ 5 ขนาด 9 x 11 นิ้ว ตราจระเข้ 3 ดาว 144 แผ่น 772.00 772.00
กระดาษทรายน้ำ หน่วย เดือนก่อนหน้า กุมภาพันธ์
เบอร์ 180 – 800 ขนาด 9 x 11 นิ้ว ตรานกนางแอ่น 100 แผ่น 1,250.00 1,250.00
ติดต่อสอบรายละเอียดเพิ่มเติม
สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถนนนนทบุรี 1 ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 โทร 0 2507 7000 โทรสาร 0 2507 5825 e-mail : indexmaster@moc.go.th

อ้างอิง http://www.thaicontractors.com

ราคาวัสดุขัดผิว

มิถุนายน 11, 2009

ราคาวัสดุก่อสร้าง กรุงเทพมหานคร (ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
หมวดวัสดุสำหรับขัดผิว ราคา : บาท
กระดาษทรายขัดไม้ หน่วย เดือนก่อนหน้า มีนาคม
เบอร์ 0 ขนาด 9 x 11 นิ้ว ตราจระเข้ 3 ดาว 144 แผ่น 550.00 550.00
เบอร์ 1 ขนาด 9 x 11 นิ้ว ตราจระเข้ 3 ดาว 144 แผ่น 550.00 550.00
เบอร์ 2 ขนาด 9 x 11 นิ้ว ตราจระเข้ 3 ดาว 144 แผ่น 612.00 612.00
เบอร์ 3 ขนาด 9 x 11 นิ้ว ตราจระเข้ 3 ดาว 144 แผ่น 657.00 657.00
เบอร์ 4 ขนาด 9 x 11 นิ้ว ตราจระเข้ 3 ดาว 144 แผ่น 701.00 701.00
เบอร์ 5 ขนาด 9 x 11 นิ้ว ตราจระเข้ 3 ดาว 144 แผ่น 772.00 772.00
กระดาษทรายน้ำ หน่วย เดือนก่อนหน้า มีนาคม
เบอร์ 180 – 800 ขนาด 9 x 11 นิ้ว ตรานกนางแอ่น 100 แผ่น 1,250.00 1,250.00
ติดต่อสอบรายละเอียดเพิ่มเติม
สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถนนนนทบุรี 1 ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 โทร 0 2507 7000 โทรสาร 0 2507 5825 e-mail : indexmaster@moc.go.th